top of page

Leading Agile Organizations

Updated: Jun 25, 2022


ในยุคดิจิทัล องค์กรเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้น Ray Kurzweil ผู้อำนวยการด้านวิศวกรรม ของ Google ซึ่งเป็นทั้งนักประพันธ์ นักประดิษฐ์ และเป็น Futurist ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง การทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เขาทำนายไว้ ได้เกิดขึ้นจริงหลายประการ เขาได้เคยกล่าวทำนายไว้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เราเคยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในอีกสองหมื่นปีข้างหน้า อาจจะมารุมกันเกิดขึ้นภายในร้อยปีข้างหน้านี้ก็เป็นได้

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เร่งเร็วยิ่งขึ้น มักมีคำถามว่าองค์กร ทีมและผู้นำ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เพื่อช่วยเสริมความพร้อมให้กับองค์กรในการเปลี่ยนแปลงได้ทันกาลและมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาให้องค์กรมีกล้ามเนื้อที่พร้อมเสมอต่อการเปลี่ยนแปลง ให้มีทั้งความยืดหยุ่นและศักยภาพในการก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงรุกได้ทั้งสามระดับ คือระดับกระบวนการในองค์กร (Organization) ระดับทีม (Team) และระดับบุคคล (Individual)

ระดับกระบวนการในองค์กร ในการสร้างความคล่องตัวและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Agility) องค์กรต้องมีกระบวนการที่อำนวยให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็วในทุกระดับ เพื่อเสริมความสอดคล้องในทิศทางและเป้าหมาย กระบวนการต่างๆควรช่วยเสริมคุณสมบัติ อย่างเช่น

  • Aware (รู้เท่าทันและตระหนัก)

  • Agile and flexible (ความคล่องตัวและยืดหยุ่น)

  • Responsive to change (ตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว)

  • Culture of transparency (วัฒนธรรมที่โปร่งใส)

  • Collaboration and open communication (ประสานร่วมมือและการสื่อสารที่เปิดเผย)

ในระดับทีม ทุกทีมงานต้องพร้อมปรับทิศทางให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นทีมอาจจะไม่ส่งมอบผลงานตามความคาดหวัง ทีมจำเป็นต้องมีความสามารถในด้าน Collaboration และ Assertive Communication

ในระดับบุคคล บุคลากรมากมายยังติดในพื้นที่ที่ตนเชื่อว่าปลอดภัย (Comfort Zone) อีกทั้งมีบุคลากรที่พร้อมจะแสดงศักยภาพแต่ขาดโอกาส และในบางกรณีผู้บริหารและผู้จัดการเองก็ต้องการการสนับสนุนในการช่วยให้ตนเองปรับเปลี่ยนเช่นกัน ซึ่งเราอาจเรียกว่า เป็นทักษะ Leading Self เพื่อเปลี่ยนตนเองให้ได้ก่อน ก่อนจะไปนำการเปลี่ยนแปลงในทีม ผู้บริหารและผู้จัดการจำเป็นต้องเพิ่มเสริมคุณสมบัติและความสามารถเช่น

  • Thrive in change – open and flexible (ก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเปิดใจและยืดหยุ่น)

  • Participative and good listener (มีส่วนร่วมและเป็นผู้ฟังที่ดี)

  • Innovative and intuitive (ใช้นวัตกรรมและมีความคิดริเริ่ม)

  • Resilient (ฟื้นจากอุปสรรคได้เร็ว ล้มแล้วลุกได้เอง)

  • Developer of people and teams (เป็นนักพัฒนาคนและทีม)

  • Proactive thinking (คิดเชิงรุก)

การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร เป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ให้มีทั้งความยืดหยุ่นและศักยภาพในการก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงรุกได้ทั้งสามระดับ คือระดับกระบวนการในองค์กร (Organization) ระดับทีม (Team) และระดับบุคคล (Individual)

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใช้รูปแบบการโค้ชที่ไม่ใช้เวลานานจนเกินไป เพราะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เราต้องการ Speed ด้วยเช่นกัน วัฒนธรรมการโค้ชที่กล่าวถึง จึงไม่ใช่การโค้ชโดยทั่วๆไปที่เราเคยได้ยิน แต่ต้องเป็นกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อสร้างและพัฒนา Agile Leaders และ Agile Teams

ควรใช้โมเดลที่เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้ทันที มีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน เพื่อให้ทุกระดับในองค์กรเดินตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว สร้างแรงบันดาลใจไปในทิศทางเดียวกัน นำศักยภาพของทุกคนออกมาใช้ได้อย่างสอดคล้องและเต็มที่ สร้างการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลง

©Copyright - All rights reserved.

About the author; Atchara (Cara) Juicharern is a winner of Woman Leadership Award and an accomplished leadership and executive coach who has been also developing executives and leaders in the organizations to be successful in coaching. She has trained thousands of executives and leaders from all types of business industries.

With her passion to support leaders and organizations to be successful in creating coaching and mentoring cultures, she also conducts significant coaching studies. She is frequently invited to speak about the coaching trends and the future of coaching in various leadership and HR forums.

Her best-selling book "Leader as Coach" is the first Thai language book that brings practical and simplified coaching methods and conversation to leaders and has received a foreword by the world number 1 Coaching Guru and Thought Leader - Dr. Marshall Goldsmith.

Contact us: +662 197 4588-9

Email: info@aclc-asia.com

www.aclc-asia.com

******************************

828 views
bottom of page