top of page

Hard Truth of Soft Skills

Updated: Nov 12, 2022


เมื่อศึกษาแนวโน้มด้านทักษะที่องค์กรให้ความสำคัญ ทักษะที่มีความสำคัญในการร่วมงานกับผู้อื่น หรือ Soft Skills ยังติดอันดับแรกๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การศึกษาด้านแนวโน้มของการพัฒนาความสามารถ ซึ่งเป็นการสำรวจในระดับโลกของ Linkedin Learning ในปี 2018 ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร 200 คน ผู้จัดการที่มีบทบาทในการบริหารคน 400 คน มืออาชีพด้านการพัฒนาความสามารถอีก 1,200 คน และบุคลากรอีก 2,200 คน

(Reference/Credit: https://learning.linkedin.com/elearning-solutions-guides/workplace-learning-report-2018)

จากผลสำรวจนี้ได้สรุปแนวโน้มให้เห็นว่า ในปีนี้ เมื่อจัดลำดับความสำคัญ ทักษะที่ผู้เข้าร่วมทำการสำรวจยกให้เป็นอันดับหนึ่ง คือ ทักษะด้าน Soft Skills ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในองค์กร ทักษะด้านนี้กลับยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น ทักษะที่มีชื่อว่า ทักษะเบาๆ (Soft Skills) อาจจะกลายเป็นเรื่องน่าหนักใจ สำหรับคนที่ไม่มีทักษะดังกล่าว

บทสรุปของผู้สำรวจชี้ให้เห็นว่า Soft Skills เป็นทักษะที่แยกแยะมนุษย์กับหุ่นยนตร์ที่เห็นได้ขัด นอกจากนั้นยังระบุว่า สามอันดับแรกของ Soft Skills ที่สำคัญและจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคือ ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การประสานความร่วมมือ

Soft Skills คือทักษะที่ผสมผสานความสามารถด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านสังคม การสื่อสาร ด้านอารมณ์ บุคลิกภาพของบุคคล อาจรวมไปถึงการสร้างทัศนคติที่ดีให้ตนเองได้ ความยืดหยุ่นในการปรับตัว

การใช้วิจารณญานที่คำนึงถึงผู้อื่นในการทำงานด้วยก็ได้ ตัวอย่างของ Soft Skills เช่น ทักษะการโค้ช ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการขาย การโน้มน้าวใจ ทักษะการต่อรอง เป็นต้น

ทั้งนี้ มิใช่ว่า Hard Skills อย่างเช่นความสามารถด้านเทคนิค การวิเคราะห์ และอื่นๆ จะลดความสำคัญไป อย่างไรก็ตาม มีการสนับสนุนอยู่เสมอว่า Soft Skills ช่วยส่งเสริมให้บุคคลนำทักษะด้าน Hard Skills มาปฏิบัติงานให้ราบรื่น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้

อีกด้านที่น่าจับตามองคือ แนวโน้มการนำ Online และ E-learning มาใช้เพิ่มขึ้นในปีนี้ องค์กรมีความสนใจในการใช้การเรียนรู้แบบ Online มากขึ้น โดยเน้นไปที่การเรียนรู้แบบกระชับ แบบหั่นเป็นส่วนเล็กๆ (Microlearning) การเรียนรู้แบบ JIT (Just in Time) อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตของการเรียนรู้แบบ Online ยังคงน้อยกว่ารูปแบบการพัฒนาที่ใช้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาช่วยในการสอน ซึ่งสูงกว่าปี 2017 ถึง 21%

ดิฉันมองว่า บุคลากรเองก็มีความชอบในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบเรียนรู้คนเดียว มีอิสระ ซึ่งก็น่าจะชอบแบบ Online มากกว่า แต่บุคลากรที่ต้องการการเรียนรู้ที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้สื่อสาร สมาคมกับผู้อื่น ก็มีไม่น้อยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากการศึกษา หรือประสบการณ์ของดิฉันเอง องค์กรส่วนใหญ่พบปัญหาในการช่วยให้บุคลากรจัดสรรเวลาให้กับการพัฒนาตนเอง และในการสร้างทัศนคติแบบ Growth Mindset คือพร้อมที่จะเติบโตเรียนรู้ และทดลองอะไรใหม่ๆ ดิฉันจึงเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นในปัจจุบันและอนาคต รูปแบบการเรียนรู้ควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น มีให้คนได้เลือกเรียนรู้ได้มีประสิทธิผลสูงสุดในสไตล์ของเขา หากจะด่วนสรุปว่าทุกคนมีสมาธิสั้นลงในการเรียนรู้อาจจะทำให้มองข้ามความแตกต่างเหล่านี้ไปในการออกแบบ

นอกจากคำนึงถึงสไตล์การเรียนรู้ของบุคคลแล้ว ผู้ออกแบบการเรียนรู้ก็จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของทักษะด้วยว่า ถ้าจะเกิดประสิทธิผลสูงสุด สามารถเรียนรู้ทาง Online อย่างเดียวได้ หรือจำเป็นต้องผสมผสานการเรียนรู้ทั้งแบบในห้องเรียน และการเรียนรู้ด้วยตนเองโดย Microlearning และนำรูปแบบ Gamification เข้ามาช่วยกระตุ้นหรือวัดผล

Soft Skills เป็นทักษะที่ควรผสมผสานการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ และการเรียนรู้ในห้องเรียนก็สามารถทำให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงในการนำไปใช้ให้มากที่สุด และเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงออกและได้แลกเปลี่ยน Feedback ให้มากที่สุด การเสริมด้วย Microlearning ที่ดึงดูดความสนใจ และตรงกับคำถามในใจผู้เรียน ทั้งก่อนและหลังการมาเรียนรู้ในห้อง ช่วยขยายทั้งประสบการณ์การใช้งานจริง และทำให้เราจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ยาวขึ้นอีกด้วย



©Copyright - All rights reserved.

About the author; Atchara (Cara) Juicharern is a winner of Woman Leadership Award and an accomplished leadership and executive coach who has been also developing executives and leaders in the organizations to be successful in coaching. She has trained thousands of executives and leaders from all types of business industries.

With her passion to support leaders and organizations to be successful in creating coaching and mentoring cultures, she also conducts significant coaching studies. She is frequently invited to speak about the coaching trends and the future of coaching in various leadership and HR forums.

Her best-selling book "Leader as Coach" is the first Thai language book that brings practical and simplified coaching methods and conversation to leaders and has received a foreword by the world number 1 Coaching Guru and Thought Leader - Dr. Marshall Goldsmith.

Contact us: +662 197 4588-9

Email: info@aclc-asia.com

www.aclc-asia.com

******************************

128 views
AcComm Group Website
Subscribe to receive our latest news
สมัครรับข่าวสาร

Contact us: AcComm Group

AcComm & Image International Co., Ltd.  and

Leadership and Coaching Solutions Co., Ltd.

188/49, Habitown, Wacharapon Road, Bangkok 10220 
 

Tel. (66) 2197 4588-9, (66) 89 924 5985 
Fax. (66) 2197 4590

Email: info@aclc-asia.com   

www.aclc-asia.com 

(Our previous website was www.spg-asia.com)

Thanks! Message sent.

  • Blogger Social Icon
  • Facebook Social Icon
  • YouTube Social  Icon
  • Instagram Social Icon
  • AcComm Group Podcast
Microlearning by AcComm Group

©2024  All rights reserved

  AcComm & Image International Co., Ltd.

AcComm Group

bottom of page